..คลิกที่รูป...บริการถ่ายภาพสุดประทับใจ prewedding รับปริญญา พิธีการต่าง แฟชั่น อีกมากมาย ติดต่อ : 0899274733 msn:tuchkay@hotmail.com

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เพื่อไทยชี้เหตุระเบิดหลายจุด แสดงถึงความล้มเหลวของรัฐบาล


เพื่อไทยชี้เหตุระเบิดหลายจุด แสดงถึงความล้มเหลวของรัฐบาล (สำนักข่าวไทย)

นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงเรียกร้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รับผิดชอบ และพิจารณาปลด นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ออกจากการดูแลเรื่องความมั่นคง หลังเกิดเหตุลอบวางระเบิด และเกิดเหตุระเบิดหลายจุด ในกรุงเทพมหานคร คืนวานนี้ (27 กุมภาพันธ์) เพราะสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานที่ล้มเหลวของฝ่ายความมั่นคงและรัฐบาล ทั้งที่ผ่านมาได้ใช้งบประมาณ และกำลัง ทั้งทหารและตำรวจจำนวนมาก ในการตั้งด่านตรวจ เพื่อเฝ้าระวังหลายจุด แต่ก็ยังมีเหตุเกิดขึ้น ขณะที่ยังไม่สามารถจับผู้กระทำผิดในคดีลอบวางระเบิดบริเวณศาลฎีกา และคดียิงเอ็ม 79 ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครวิทยาเขตพณิชยการพระนคร มาดำเนินคดีได้

ทั้งนี้ ไม่ต้องการให้โยนความผิดให้กับฝ่ายการเมืองขั้วตรงข้าม หรือกลุ่มคนเสื้อแดง เพราะฝ่ายที่คิดต่างจากรัฐบาล ไม่ได้รับประโยชน์จากการกระทำดังกล่าวแต่อย่างใด

แรงกว่าเมษาเลือด สุเทพ ผวาสั่งตำรวจเข้ม!


อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

สรุประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก อ.ส.ม.ท.

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเหตุระเบิดป่วนเมืองที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน 4 จุด ภายในคืนเดียว ว่า ได้กำชับให้ตำรวจเพิ่มจุดตรวจและตั้งด่านตรวจตามจุดต่าง ๆ เพราะเชื่อว่ามีความพยายามที่จะทำอย่างนี้อีก แต่เราจะพยายามอย่างดีที่สุดในการป้องกัน อย่าตกเป็นเหยื่อ อย่าตื่นตระหนกและไม่ประมาท ตนเชื่อว่าจะผ่านพ้นไปได้ คนทำต้องการที่จะให้เกิดความรู้สึกว่ามีความวุ่นวาย พยายามจะสร้างหลายเงื่อนไข แต่รัฐบาลมีจุดยืนที่ชัดเจน ซึ่งบอกตั้งแต่ต้นแล้วว่ารัฐบาลไม่ได้เป็นคู่กรณีและคู่ต่อสู้กับใคร ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ต้องการให้บ้านเมืองสงบ

"ใครที่ทำมีความพยายามที่จะทำให้เกิดความเข้าใจไขว้เขว สับสน และเกิดความขัดแย้งมากขึ้นระหว่างรัฐบาลและผู้ที่จะมาชุมนุมทางการเมือง ผมขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย รวมทั้งผู้ที่จะมาชุมนุม ว่าอย่าหลงเชื่อว่าเป็นเรื่องที่จะทำให้เกิดความทะเลาะกัน แต่คนกลุ่มเล็ก ๆ ที่ไม่ได้ต้องการประชาธิปไตยและความเป็นธรรม แต่ต้องการเรื่องอื่น และต้องการสร้างเงื่อนไขเหล่านี้" นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ตนขอยืนยันว่าเราจะดูแลไม่ให้เกิดเหตุการณ์ความไม่เรียบร้อย นั่นคือเหตุผลที่ตนบอกว่าบางครั้งเวลาเราต้องใช้กฎหมาย อำนาจพิเศษ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะทำกับผู้ชุมนุม เป็นเรื่องของการช่วยบริหารการจัดการของการชุมนุมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา แต่ขอย้ำว่าตอนนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษ เพราะเราจะเพิ่มจุดตรวจ สายตรวจ และจะเร่งตรวจสอบหาผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี ซึ่งสำหรับคนร้ายที่ลงมือวางระเบิด 4 จุด มีสิ่งที่บ่งบอกว่าน่าจะเป็นกลุ่มเดียวกัน เป้าหมายคือธนาคารเดียวกัน และสิ่งที่ใช้คือระเบิดก็เป็นแบบเดียวกัน และยังมีอีก 2 จุดที่พันผ้าเทปก็กำลังไปพิสูจน์ลายนิ้วมืออยู่

สุเทพ เทือกสุบรรณ

ขณะที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กล่าวว่า เรื่องที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องที่เกินไปจากความคาดหมาย เจ้าหน้าที่เองก็ระมัดระวังอยู่แล้ว ยังนึกเกรงอยู่เหมือนกันว่าเมื่อผลการตัดสินคดียึดทรัพย์ออกมาแล้ว คงจะมีการกระทำในลักษณะนี้ ตนได้ให้ตำรวจขอกำลังทหารมาช่วยเสริมเพิ่มเติม โดยให้มีการลาดตระเวนและตั้งจุดตรวจต่าง ๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่เองก็พยายามเต็มที่ แต่ก็ยังมีการก่อเหตุเกิดขึ้น และตนมั่นใจว่าจะสามารถจับตัวคนร้ายที่ก่อเหตุได้แน่นอน เพราะดูจากลายนิ้วมือ และเชื่อว่าคนที่ก่อเหตุเป็นคนรับจ้างก่อเหตุ อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าเหตุจะรุนแรงมากกว่าเดือนเมษายน เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการที่จะเอาข้ออ้างไปฟ้องศาลโลก แต่ผมก็จะระมัดระวังไม่ให้เกิดความรุนแรงใด ๆ ขึ้น

"มาตรการรักษาความปลอดภัยจะต้องเฝ้าดูเหตุการณ์ไปเรื่อย ๆ จนกว่าทุกอย่างจะเข้าสู่สถานการณ์ปกติและสงบสุขเช่นเดิม โดยจะมีการเพิ่มกำลังทหารเข้าไปเสริมกำลังตำรวจ โดยได้มอบหมายให้ ผบช.น.ไปพิจารณาว่าจะต้องเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ในจุดไหนเท่าไร และหากตำรวจไม่พอให้ขอกำลังทหารทันที โดยเป้าหมายของรัฐบาลคือให้ประชาชนได้รับความปลอดภัย และขอย้ำว่ารัฐบาลไม่ทำอะไรที่เป็นเรื่องเสียหายกับบ้านเมืองแน่นอน สามัญชนคนธรรมดาสามารถไตร่ตรองได้ ใช้วิจารณญาณได้ ยิ่งบอกรัฐบาลสร้างสถานการณ์ เพื่อถือเป็นเหตุประกาศกฎหมายควบคุมกลุ่มผู้ชุมนุม ผมขอยืนยันว่าไม่จริง" นายสุเทพ กล่าว

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า กรณีที่มีการชุมนุมถ้าเป็นการชุมนุมที่ไม่ฝ่าฝืนกฎหมาย เราก็จะไม่ไประงับยับยั้ง เพราะถือเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าเมื่อใดทำเรื่องที่ผิดกฎหมายก่อกวนความสงบสุขบ้านเมือง สร้างความเดือดร้อน ก็ต้องแก้ไข และการแก้ไขหากอยู่ในวิสัยที่สามารถใช้กฎหมายธรรมดาก็ควรใช้ ยกเว้นเหมือนกรณีเหตุการณ์ที่พัทยาหรือเหตุการณ์สงกรานต์ แบบนั้นก็จำเป็นที่จะต้องใช้กฎหมายความมั่นคง

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ยึดทรัพย์ ทักษิณ 4.6 หมื่นล้าน ตกเป็นของแผ่นดิน


มติศาลฎีกา ยึดทรัพย์ ทักษิณ 46,373 ล. (ไอเอ็นเอ็น)

องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใช้เวลากว่า 7 ชั่วโมง ก่อนมีคำสั่งยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำนวน 4.6 หมื่นล้านบาท ให้ตกเป็นของแผ่นดิน

เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ผู้พิพากษาได้อ่านสำนวนฟ้องของอัยการสูงสุดแล้ว จึงได้เริ่มคำแย้งของทักษิณและครอบครัว เสร็จแล้วได้อ่านคำวินิจฉัยขององค์คณะผู้พิพากษาโดยเห็นว่าคุณหญิงพจมาน และครอบครัวชินวัตร มีความสัมพันธ์กันและเข้ารับสัมปทานโครงการของรัฐ ต่อจากนั้นศาลได้วิเคราะห์ตามคำฟ้องและข้อโต้แย้ง เริ่มจากเห็นว่า ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจในการวินิจฉัยคดีนี้

และเห็นว่าคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) มีอำนาจไตร่สวนที่จะยื่นคำร้องตามประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประ (คปค.) และได้ดำเนินการตามกรอบเวลาที่กำหนดตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 แล้ว

และคณะอนุกรรมการได้ให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงและพิสูจน์ทรัพย์สินอย่างเต็มที่ ไม่ได้ปิดกั้นผู้ถูกกล่าวหาตามที่อ้าง รวมถึงองค์ประกอบของ คตส.ก็ไม่มีปัญหาหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ถูกต้องแต่อย่างใด องค์คณะผู้พิพากษามีมติเป็นเอกฉันท์ว่า คตส.มีอำนาจร้อง รวมทั้งพิเคราะห์ข้ออ้างของ พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุว่า กรรมการ คตส. ได้แก่ นายกล้าณรงค์ จันทิก นายบรรเจิด สิงคเนติ และนายแก้วสรร อติโพธิ เป็นปฎิปักษ์ นั้นฟังไม่ขึ้น

ศาลได้วินิจฉัยต่อมาถึงกรณีการได้มาซึ่งทรัพย์ของผู้ถูกร้องอย่างเช่น การแปลงค่าสัมปทานกิจการโทรคมนาคม เป็นภาษีสรรพาสามิต ด้วยการตรา พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพาสามิต ( พ.ศ.2527) พ.ศ.2546 โดยเห็นว่า คำร้องของผู้ร้องไม่เคลือบคลุม และครบถ้วนตามกฎหมายและไม่จำต้องบรรยายรายละเอียดของทรัพย์สินเพราะเป็น เรื่องต้องพิสูจน์ในศาล ต่อจากนั้นได้วินิจฉัยเรื่องการถือหุ้นแทน

ต่อจากนั้นได้ศาลวินิจฉัยเรื่องการถือหุ้นแทน โดยระบุว่า การขายหุ้นให้พี่น้องของผู้ถูกร้องมีพิรุธ ไม่มีใครจ่ายเป็นเงินทั้งที่จริงๆมีเงินจ่ายได้แต่กลับจ่ายเป็นตั๋วสัญญา ดังนั้นการใช้เงินสด 68 ล้านบาท ไม่มีเอกสารใดๆ มาแสดงข้ออ้างการใช้เงินจึงรับฟังไม่ได้ และเป็นผู้รับเงินปันผลแสดงว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ซึ่งตามบัญชีบริษัทแอมเพิลริช มีเงินปันผลเข้าบัญชีในปี 2546-47 และต้นปี 2548 จำนวน 1 พันล้านบาท

ดังนั้นศาลจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า ผู้ถูกกล่าวหาและผู้คัดค้านที่ 1 ถือหุ้นใหญ่กว่า 1,400 ล้านหุ้นของบริษัทชินคอร์ป ช่วงอยู่ในตำแหน่ง ตามคำร้อง

ศาลวินิจฉัยประเด็นต่อไปว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 (พ.ต.ท.ทักษิณ) ใช้อำนาจขณะเป็นนายกฯเอื้อประโยชน์ตัวเองและพวกพ้องไหม โดยเฉพาะการแก้ไขกฎหมายสรรพสามิต เบื้องต้นเห็นว่า การเก็บภาษีสรรพสามิตก็เพื่อเก็บรายได้เข้ารัฐ การที่ให้เอาค่าสัมปทานโทรศัพท์มาหักจากอัตราภาษีจึงขัดแย้งกัน การให้เอาค่าสัมปทานไปหักจากภาษีสรรพสามิตทำให้ ทศท.เสียเปรียบและเสียหายอย่างรุนแรง ดังนั้น การทำเช่นนั้นทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่มีรายจ่ายสูงกว่าเอไอเอสมาก ยากที่ผู้ประกอบการรายใหม่จะเกิดได้ ดังนั้นจึงมติด้วยเสียงข้างมากว่าการตรา พ.ร.ก. 2 ฉบับ เพื่อให้เอาค่าสัมปทานไปหักจากอัตราภาษีสรรพสามิตเป็นการเอื้อประโยชน์แก่ ชินคอร์ป ทำให้รัฐเสียหายกว่า 6หมื่นล้านบาท

ศาลวินิจฉัยประเด็นต่อมาว่า ผู้ถูกร้องที่ 1 (พ.ต.ท.ทักษิณ) ได้ดำเนินการแก้สัญญาโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินและโรมมิ่งเอื้อบ.ชินคอร์ป

ศาลได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องดาวเทียมไทยคมและดาวเทียมไอพีสตาร์ว่าการแก้ไข ให้ดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรองของไทยคมโดยไม่มีการเปิดประมูลแข่ง ขันอย่างเป็นธรรม แต่ไม่มีการเปิดประมูลตามกฎหมาย จึงมีมติเสียงข้างมากว่า ดาวไอพีสตาร์เอื้อประโยชน์แก่บริษัทชินคอร์ปและดาวเทียมไทยคม

หลังเวลาผ่านไปเกือบ 7 ชั่วโมง ศาลฎีกาได้เริ่มอ่านประเด็นสุดท้าย คือ การให้พม่ากู้เงินรัฐบาลไทยซื้อสินค้าชินคอป มูลค่า 4 พันล้านบาท ศาลได้วินิจฉัยด้วยมติข้างมากว่า การอนุมัติเงนกู้พม่าเป็นการเเอื้อประโยชน์แก่ไทยคมและชินคอรป แล้วได้วินิฉัยว่า ผู้ถูกร้องใช้อำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องทั้ง 5 กรณี และเห็นว่าสามารถพิจารณาวินิจฉัยให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินได้ ต่อจากนั้นได้วินิจฉัยว่าทรัพย์ทั้งส่วนขอ งพ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน สามารถวินิจฉัยตกเป็นของแผ่นดินได้รวมแล้วประมาณ 4.6 หมื่นล้านบาท จึงพิพากษายึดทรัพย์จำนวนดังกล่าวงแผ่นดิน ส่วนเงินกว่า 30,247 ล้านบาท เป็นการขายหุ้นที่มีมูลค่าเดิม หากยึดจะถือว่าไม่เป็นธรรม

ด้าน พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ออกแถลงภายหลังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายึดทรัพย์ จำนวน 46,373 ล้านบาท โดยระบุว่า ประชาคมโลกคงขบขันที่ตนถูกยึดทรัพย์ของตัวเอง ซึ่งความรู้สึกนั้น คล้ายกับเมื่อครั้งที่พรรคไทยรักไทยถูกยุบ เนื่องจากรัฐบาลทราบล่วงหน้าอยู่แล้ว เพราะคนปักธงกับคนอุ้มรัฐเป็นคนเดียวกัน ทั้งนี้ ตนขอไว้ทุกข์ให้กับความดื้อของตัวเอง ที่ไม่ยอมเชื่อฟัง คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภรรยา และลูก ๆ ที่เคยห้ามไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะเราเป็นเศรษฐีอยู่แล้ว ควรใช้ชีวิตแบบเศรษฐีดีกว่า ดังนั้นจึงขอโทษลูก ๆ ด้วย พร้อมกันยังได้ตัดพ้อว่า การเมืองใจดำ ขอให้ตนเป็นเหยื่อทางการเมืองคนสุดท้าย ตนเป็นนักเรียนทุนรัฐบาล แต่แล้วกลับเป็นเหยื่อที่ไม่ยุติธรรมที่สุด

อย่างไรก็ตาม พ.ต.ท.ทักษิณ ยังได้เรียกร้องให้คนเสื้อแดงสู้ต่อไป แต่ต้องสู้อย่างมีสติ อดทน และสันติ เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย พร้อมย้ำตนไม่เคยโกงใคร ซึ่งหากโกงจริง ขอให้ตนมีอันเป็นไป ภายใน 7 วัน 10 วัน แต่หากตนไม่ได้โกง ก็ขอให้ดาบนั้นคืนสนอง

21.45 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่งชุดดำอ้างไว้ให้ทุกข์ให้ตัวเองขณะวิดีโอลิงก์ รับทำใจไว้แล้วกรณีถูกยึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้าน แต่ยังดีที่ได้คืนกว่า 3 หมื่นล้าน ยันจะหาความยุติธรรมต่อไป

21.34 น. สุเทพ เทือกสุบรรณ เชื่อคำพิพากษายึดทรัพย์อดีตนายกฯ ทักษิณ 4.6 หมื่นล้าน จะทำให้สถานการณ์การเมืองไม่รุนแรง แต่ยันรัฐบาลเตรียมพร้อม ทหาร 20 กองร้อยดูแลรอบ กทม.

20.49 น. ศาลฎีกาฯ พิพากษาสั่งยึดทรัพย์จำนวนกว่า 4.6 หมื่นล้านบาทของพ.ต.ท. ทักษิณ ตกเป็นของแผ่นดิน

20.28 น. รองนายกฯ สุเทพ ปักหลักติดตามสถานการณ์คดียึดทรัพย์ทักษิณที่ทำเนียบ บอกรอศาลอ่านคำพิพากษาจบก่อนจะเปิดแถลง

20.00 น. บรรยากาศการฟังคำตัดสินคดียึดทรัพย์ที่พรรคเพื่อไทยเครียด แกนนำยันไม่แถลงผลการตัดสิน บอกรอผลทักษิณพูดคืนนี้ สส.เชื่อชุมนุมใหญ่ 14 มี.ค.แรงแน่

19.53 น. มติเสียงข้างมาก เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ให้รัฐบาลพม่ากู้เงิน-เพิ่มวงเงินกู้ 4 พันล้าน เอื้อชินคอร์ปฯ+ชินแซทฯ

19.42 น. ศาลวินิจฉัย พ.ต.ท.ทักษิณ แก้สัญญาโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินและโรมมิ่ง รวมถึงแก้ไขดาวเทียมไอพีสตาร์เป็นดาวเทียมสำรองไทยคม โดยไม่มีการเปิดประมูลตามกฎหมาย มติเสียงข้างมากชี้เอื้อ บ.ชินคอร์ปและดาวเทียมไทยคม

18.56 น. มติเสียงข้างมาก ชี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกพ.ร.ก. 2 ฉบับ เพื่อเอาค่าสัมปทานไปหักจากอัตราภาษีสรรพสามิต เอื้อประโยชน์แก่ชินคอร์ป ทำให้รัฐเสียหายกว่า 6 หมื่นล้านบาท

18.14 น. องค์คณะผู้พิพากษามีมติเอกฉันท์ พ.ต.ท.ทักษิณ ถือหุ้นส่วนใหญ่ บริษัท ชินคอร์ป ขณะดำรงตำแหน่งนายกฯ โดยอำพรางหุ้นในชื่อบุคคลอื่น

16.14 น. องค์คณะผู้พิพากษา มีมติเอกฉันท์ ชี้ศาลฎีกามีอำนาจ สามารถชี้ขาดคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้

16.10 น. ผบก.น.1 เผยเสื้อแดงทยอยออกจากสนามหลวงแล้ว และไม่มีความเคลื่อนไหวรอบศาลแต่อย่างใด

15.50 น. พรรคประชาธิปัตย์วอนทุกฝ่าย เคารพคำตัดสินของศาล

15.05 น. กระทรวงสาธารณสุขเตรียมแพทย์-พยาบาล และเวชภัณฑ์ เพื่อรับมือกับเหตุฉุกเฉิน หากเกิดขึ้น

14.55 น. กษิต ภิรมย์ เตรียมแผนอพยพข้าราชการ หากเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้น

14:38 น. เสธ.แดง โผล่วิทยุชุมชนเสื้อแดงอุดร

14.36 น. ศาลฎีกาอ่านคำพิพากษา ทักษิณอนุมัติโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ เป็นการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทชินคอร์ป โดยมิชอบ

14.31 น. เสื้อแดงไม่รู้เริ่มอ่านคำพิพากษาแล้ว เหตุไม่มีเครื่องกระจายเสียง

14.21 น. มหาดไทยเปิดวอร์รูมเกาะติดสถานการณ์ม็อบ คดียึดทรัพย์

14.20 น. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ลุ้นผลพิพากษาที่ตึกชิน 3

14.16 น. เสื้อแดงลำปางจับกลุ่มคอยลุ้นคำพิพากษาคดียึดทรัพย์

13.45 น. ข่าวลือสะพัดปอยเปต ฮุนเซนจะปิดด่านหากทักษิณถูกยึดทรัพย์ทั้งหมด โดยประกาศจะไม่คบประเทศไทย

13.38 น. องค์คณะผู้พิพากษาเริ่มอ่านคำพิพากษาแล้ว

13.18 น. ทักษิณ ชินวัตร วีดีโอลิงค์ บอกเตรียมใจรับผลคดียึดทรัพย์

12.34 น. ทนายความของคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ และทนายความของพานทองแท้-พินทองทา ชินวัตร เดินทางถึงศาลฎีกาแล้ว และกำลังขึ้นไปยังบนห้องพิจารณา

12.05 น. ประชาชนกว่า 50 คน ทยอยมายื่นความจำนงขอเข้าไปรับฟังคำพิพากษาของศาลฏีกา

12.00 น. สื่อมวลชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทยอยเข้าห้องพิจารณาคดีแล้ว

11.56 น. เว็บไซต์สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น ลงประวัติทักษิณ ชินวัตร พร้อมเผยภูมิหลังคดียึดทรัพย์วันนี้

10.54 น. ส.ส.เพื่อไทย เดินทางเข้าพรรครอลุ้นคำตัดสิน พร้อมเสื้อแดงกว่า 20 คน

10.51 น. พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น.พร้อมด้วย พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น.และ พล.ต.ต.วิมล เปาอินทร์ รองผบช.น. เดินทางมายังศาลฎีกา เพื่อตรวจความเรียบร้อยการรักษาความปลอดภัย

09.07 น. 9 ผู้พิพากษาเข้าประชุม เพื่อแถลงคำวินิจฉัยส่วนตนแล้ว ก่อนจะลงมติ เตรียมอ่านคำพิพากษาบ่าย 2

09.00 น. กลุ่มแดงสยามปักหลักชุมนุมที่สนามหลวง แกนนำระบุให้มารวมตัวช่วงบ่าย เพื่อรอฟังคำตัดสิน

08.16 น. เอเอฟพีรายงาน ศาลฎีกานัดพิพากษาคดียึดทรัพย์ทักษิณ ชินวัตร ถือเป็นวันพิพากษาใหญ่ของไทย

07.54 น. ทหารยังคุมเข้มหน้าบ้านพัก ประธานองคมนตรี คาดไม่น่าจะมีความวุ่นวายเกิดขึ้น

07.53 น. ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ปล่อยชุดเคลื่อนที่เร็ว ปะฉะดะ เตรียมพร้อมจู่โจมหากเกิดเหตุรุนแรง รอบศาลฎีกา

07.52 น. บรรยากาศ พรรคเพื่อไทย ยังปกติ สื่อทุกแขนง เฝ้าเกาะติดสถานการณ์ ด้านแกนนำพรรค เตรียมเดินทางเข้าร่วมฟังคำตัดสินด้วย

07.51 น. จับตาบรรยากาศการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์วันนี้ ในขณะที่บรรยากาศโดยรอบยังเป็นไปตามปกติ เจ้าหน้าที่ สน.ลุมพินี และตำรวจ 191 เฝ้าระวังสถานการณ์

07.46 น. บรรยากาศที่กองบัญชาการกองทัพบก เช้าวันนี้ ยังคงมีการรักษาความปลอดภัยตามปกติ ขณะที่ผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการระดับสูงต่างเดินทางมาปฎิบัติงานตามปกติ

07.45 น. บ้านจันทร์ส่องหล้า ยังเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เจ้าหน้าที่วางกำลังคุมทางเข้าออก เข้มห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง เข้าใกล้

07.43 น. กลุ่มแดงสยามกร่อย เหลือปักหลักชุมนุมที่สนามหลวงบางตา แกนนำระบุให้มารวมตัวช่วงบ่าย รอฟังตัดสินคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ

07.36 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภายังตรวจรถเข้า-ออกอย่างเข้มงวด แต่ขอเพิ่มกำลัง คาดไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น

07.12 น. บรรยากาศโดยรอบบริเวณศาลฎีกา ยังเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เตรียมกำลัง 3 กองร้อยคุมเข้ม ตั้งจุดสกัดทุกประตูเข้าออก ในขณะที่กลุ่มแดงสยามปักหลักชุมนุมที่สนามหลวงแล้ว

07.06 น. องค์คณะผู้พิพากษา คดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้ง 9 เดินทางถึงศาลฎีกานักการเมืองแล้ว โดยรถยนต์กันกระสุน พร้อมการรักษาความปลอดภัย ที่เข้มงวด

06.53 น. บรรยากาศรอบทำเนียบยังเป็นไปตามปกติ เจ้าหน้าที่ตรวจรถเข้าออกทุกประตูอย่างเข้มงวด หลังนำสุนัขทหารพร้อมเครื่องสแกน ตรวจวัตถุต้องสงสัยรอบทำเนียบวานนี้

06.21 น. บรรยากาศหน้าบ้านสี่เสาเทเวศน์ ยังคงมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ดูแลความปลอดรักษาความปลอดภัยตามปกติ พร้อมมีการนำแผงเหล็กมากั้น

06.06 น. สื่อมวลชนเริ่มทยอย ปักหลัก จับจองพื้นที่การรายงานข่าว การตัดสินคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาท ที่ศาลฎีกา ท่ามกลางการดูแลรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวด

05.40 น. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของศาลฎีกา เริ่มเปิดประตูที่ 4 แล้ว พร้อมนำแผงเหล็ก กั้นถนนปิดถนน หับเผย ขณะที่สื่อมวลชน เริ่มทยอยจับจองพื้นที่ ถ่ายทอดสดแล้ว

05.29 น. ตำรวจ ทหาร ยังคงสนธิกำลังออกตรวจตราโดยรอบบริเวณจุดเสี่ยง 5 จุด ตามที่ ผบช.น. ให้นโยบายไว้ โดยตลอดคืนที่ผ่านมา ยังปกติ ไม่มีความวุ่นวายใด ๆ

00.47 น. การปราศรัยของกลุ่มแดงสยามบริเวณท้องสนามหลวง เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น ขณะที่บรรยากาศหน้าศาลฏีกา เจ้าหน้าที่ตำรวจตรึงกำลังรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด

00.33 น. ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 ลงพื้นที่รอบศาลฏีกา ตรวจเข้มการรักษาความปลอดภัย พร้อมส่งชุดสืบสวนสอบสวนกระจายกำลังโดยรอบเพิ่มกว่า 80 นาย ป้องกันเหตุความไม่สงบ ก่อนอ่านพิพากษาตัดสินคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้าน พ.ต.ท.ทักษิณ

เพื่อไทยแถลงยึดทรัพย์ ผลปฏิวัติคนบงการลุอำนาจ


พท.แถลงยึดทรัพย์ผลปฏิวัติคนบงการลุอำนาจ (ไอเอ็นเอ็น)

พล.อ.ชวลิต แถลงการณ์หลังศาลพิพากษายึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุ เคารพต่อคำตัดสิน แต่รู้สึกความยุติธรรมกำลังจะหมดไป ชี้มีผู้ชักใยอยู่เบื้องหลัง แต่ปัดตอบใช่ พล.อ.เปรม หรือไม่ ด้านหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อ่านแถลงการณ์พรรค ระบุ ถือเป็นผลพวงจากการปฏิวัติชัดเจน ส่งผลภาพลบต่อประเทศ ในสายตาคนต่างชาติ

พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย แถลงคำพูดหลังจากศาลได้พิพากษาคดียึดทรัพย์ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เคารพในการตัดสินของศาล เห็นได้จากการกล่าวขอโทษขององค์คณะผู้พิพากษา ที่ทำให้มีความยากลำบากในการพิพากษา ส่วน พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ตนเองมีความเคารพต่อคำตัดสินของศาลครั้งนี้ แต่รู้สึกว่า ความยุติธรรมกำลังจะหมดไป เพราะเบื้องหลังการตัดสินใจ ยังมีอิทธิพลของใครบ้างคน ที่มีผลต่อการพิพากษาครั้งนี้ รวมทั้งกำลังอยู่เบื้องหลังและชักใยให้สถานการณ์บ้านเมืองวุ่นวาย และเลวร้ายไปกว่านี้ด้วย

ส่วนกรณีที่สื่อมวลชนถามว่า ผู้ชักใยคือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ หรือไม่นั้น พล.อ.ชวลิต ตอบว่า อย่าพูดอย่างนั้น เพราะจะทำให้เสียหายกันหมด นอกจากนี้ พล.อ.ชวลิต ได้ย้ำจุดยืนของตนเองว่า จะใช้วิธีการต่อสู้อย่างสันติวิธี เพื่อเรียกร้องให้อำนาจประชาธิปไตย กลับคืนมาเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง

ด้านนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย อ่านแถลงการณ์ของพรรค กรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษายึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และครวบครัว 46,000 กว่าล้านบาทว่า พรรคเพื่อไทย แสดงความเสียใจต่อครอบครัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งคดีดังกล่าวเป็นผลพวงจากการรัฐประหาร โดยใช้อำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส. ซึ่งประกอบด้วยคณะบุคคลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ขึ้นมาตรวจสอบและเป็นการใช้อำนาจเผด็จการกลั่นแกล้ง เพราะทรัพย์สินที่ถูกยึด ได้มาด้วยความสุจริตและเป็นทรัพย์สินที่มีมาก่อนเข้าสู่การเมือง ซึ่งการตัดสินครั้งนี้ ไม่เป็นผลดีต่อกระบวนการยุติธรรมของไทยและภาพลักษณ์ของประเทศ

อย่างไรก็ตาม พรรคเพื่อไทยขอให้ประชาชนที่รักความเป็นธรรม ร่วมกันเรียกร้องต่อสู้ โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีกฎหมายเป็นธรรม บังคับใช้อย่างเท่าเทียมกัน

เปิดประวัติ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ คนที่ 23 ของไทย


ทักษิณ ชินวัตร


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก thaksinlive.com

เรียกว่าเป็นบุคคลที่โด่งดังที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทยที่รับรองว่า ไม่มีใครไม่รู้จักเขา " พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร " อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 23 ของประเทศไทย ต้องบอกว่า พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ถือเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของการขับเคลื่อนทางการเมืองของประเทศไทย ณ ปัจจุบัน วันนี้กระปุกดอทคอมจึงขอประมวลประวัติของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร มาฝากกัน

ประวัติครอบครัวของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร

ทักษิณ ชินวัตร หรือ พันตำรวจโท ด็อกเตอร์ ทักษิณ ชินวัตร มีชื่อจีนว่า ชิวต๋าซิน เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 เป็นชาวอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันอายุ 60 ปี เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 10 คน สมรสกับคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ ในปี พ.ศ.2523 มีบุตร 3 คน คือ 1. พานทองแท้ ชินวัตร (โอ๊ค) 2. พินทองทา ชินวัตร (เอม) และ 3. แพรทองธาร ชินวัตร (อุ๊งอิ๊ง) ก่อนจะจดทะเบียนหย่ากับคุณหญิงพจมาน เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2551 ที่ฮ่องกง หลังจากอยู่ด้วยกันมานานกว่า 32 ปี พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร มีฉายาที่สื่อมวลชนเรียกว่า "แม้ว" โดยเป็นชื่อที่เพื่อนร่วมรุ่นโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 ตั้งให้


ประวัติการศึกษาของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร

พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร จบการศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ และเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 (ตท.10) ในปี พ.ศ. 2512 และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26 ในปี พ.ศ. 2516 โดย พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร สอบได้เป็นที่ 1 ของรุ่น

จากนั้น พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้รับทุน ก.พ. ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ในสาขากระบวนการยุติธรรม (Criminal Justice) ที่มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี (Eastern Kentucky University) ก่อนที่ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร จะสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2518 และได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกในสาขาเดียวกันที่มหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตต (Sam Houston State University) จนจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2521

ประวัติการทำงานของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ก่อนเข้าสู่การเมือง

หลังจบการศึกษาปริญญาเอก พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้เริ่มทำงานเป็นหัวหน้าแผนก 6 กองวิจัยและวางแผน กองบัญชาการตำรวจนครบาล จากนั้นดำรงตำแหน่งเป็น รองผู้อำนวยการศูนย์ประมวลข่าวสาร กองบัญชาการตำรวจนครบาล และเป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้ทำธุรกิจควบคู่ไปกับงานตำรวจ ทั้งค้าขายผ้าไหม กิจการโรงภาพยนตร์ โดย พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร เคยเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น ไทรโศก รักครั้งแรก โนรี ฯลฯ แต่ไม่ประสบความสำเร็จด้านรายได้ ก่อนจะหันมาจับธุรกิจคอนโดมิเนียม แต่ก็เป็นหนี้สินกว่า 50 ล้านบาท จากนั้น พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ก็ได้ลาออกจากราชการตำรวจ และแต่งงานกับคุณหญิงพจมาน

จากนั้นในปี พ.ศ. 2526 พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้ก่อตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอซีเอสไอ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจให้เช่าคอมพิวเตอร์แก่สำนักงานต่าง ๆ และได้ขยายกิจการไปสู่การให้บริหารวิทยุติดตามตัว โทรศัพท์เคลื่อนที่ ดาวเทียม และโทรคมนาคม จนสามารถชำระหนี้ได้ และประสบผลสำเร็จทางธุรกิจ

ทักษิณ ชินวัตร


ประวัติทางการเมืองของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร

พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการ และประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในปี พ.ศ.2537 โดยได้โอนหุ้นให้คุณหญิงพจมาน นายพานทองแท้ นางสาวพินทองทา นางสาวแพรทองธาร รวมทั้งคนรับใช้ และคนสนิทถือแทน จนเปิดประเด็นคดีซุกหุ้นตามมา

พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร เข้าสู่สนามการเมืองได้ไม่นาน ก็ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ.2538 สมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ก่อนที่ในปีต่อมาจะได้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรม ต่อจาก พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และได้เป็นรองนายกรัฐมนตรี สมัยรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา และเป็นรองนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ

จากนั้นในปี พ.ศ. 2541 พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ก็ได้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค และในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ก็นำพรรคไทยรักไทยกวาดที่นั่ง ส.ส.ทั่วประเทศ จนขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในที่สุด ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544

ในขณะที่ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงแรก ป.ป.ช.ได้ชี้มูลความผิดว่า บัญชีทรัพย์สินที่แจ้งเป็นเท็จ และส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ก่อนจะมีมติพิพากษา 8 ต่อ 7 ให้ยกคำร้องดังกล่าว

ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สมัยแรก พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร มีผลงานเด่นหลายเรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลักษณะประชานิยม เช่น การพักชำระหนี้เกษตรกร, โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค , โครงการบ้านเอื้ออาทร ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีนโยบายปราบปรามผู้ค้ายาเสพติดอย่างเด็ดขาด จนกลายเป็นเสียงวิพากษ์วิจารณ์กรณีฆ่าตัดตอนตามมา จนต่อมาก็มีข้อครหาว่า พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้ใช้อำนาจสนับสนุน หรือเอื้อประโยชน์ให้เครือญาติ กลุ่มชินคอร์ป บริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบวาระ 4 ปี และในการเลือกตั้งปี พ.ศ.2548 พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ก็สามารถนำพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายกว่า 19 ล้านเสียง มี ส.ส.ถึง 376 ที่นั่ง จนกลายเป็นรัฐบาลชุดแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่มาจากพรรคการเมืองเดียว โดยสมัยที่ 2 นี้ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้สานต่อโครงการต่าง ๆ ทั้ง โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, กองทุนหมู่บ้าน ฯลฯ รวมทั้งพยายามดำเนินนโยบายหวยบนดิน เพราะต้องการปราบปรามเจ้ามือหวยใต้ดิน และยังคงดำเนินนโยบายปราบปรามผู้ค้ายาเสพติดอย่างต่อเนื่อง

ในระหว่างที่ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีทั้งได้รับเสียงชื่นชมและเสียงโจมตีเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน แทรกแซงสื่อ รวมทั้งหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จนเกิดม็อบเสื้อเหลืองออกมาขับไล่ ปราศรัยโจมตี ก่อนที่ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร จะลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อเกิดรัฐประหารขึ้นในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ซึ่งทำให้ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ต้องลี้ภัยในต่างแดนโ ดยมีคดีความและข้อกล่าวหาติดตัวไปหลายคดี ก่อนจะลาออกจากหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และในคดียุบพรรคไทยรักไทย พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ถูกพิพากษาตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ร่วมกับสมาชิกพรรคไทยรักไทย รวม 111 คน

พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้ใช้ชีวิตในประเทศอังกฤษ และได้ซื้อกิจการสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี้ โดยถือหุ้น 75 เปอร์เซ็นต์ และใช้ชื่อภาษาอังกฤษ เพื่อให้แฟนบอลเรียกว่า แฟรงค์ ชินาตา ก่อนที่ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร จะขายสโมสรให้กับ Abu Dhabi United Group ในราคา 141 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากมีข้อกำหนดว่า ผู้จะเป็นประธานสโมสรในพรีเมียร์ลีก ต้องเป็นผู้ที่ไม่ถูกตัดสินว่ากระทำความผิด

อย่างไรก็ตาม แม้ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร จะลี้ภัยในต่างแดน แต่ก็ยังมีความวุ่นวายจากกลุ่มผู้สนับสนุนและกลุ่มต่อต้านอยู่เป็นระยะ ๆ ขณะที่คดีความข้อกล่าวหาต่าง ๆ ของ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ก็ถูกขุดคุ้ยขึ้นมาจากหลาย ๆ ฝ่าย แต่ระหว่างนั้น พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ก็ได้โฟนอินเข้ามาเป็นระยะ ๆ ก่อนที่ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร จะได้เดินทางกลับมาประเทศไทยเป็นครั้งแรก เพื่อฟังคำพิพากษาคดีทุจริตที่ดินรัชดา ก่อนจะเดินทางไปประเทศจีน เพื่อชมพิธีเปิดโอลิมปิกเกมส์ และไม่ได้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยอีก จนศาลได้อ่านคำพิพากษาคดีทุจริตที่ดินรัชดา ให้ตัดสินจำคุกเป็นเวลา 2 ปี และออกหมายจับในความผิดฐานประพฤติมิชอบในการซื้อขายที่ดินย่านรัชดาภิเษกมูลค่า 772 ล้านบาท นอกจากนี้ พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ยังถูกอายัดทรัพย์ในประเทศไทยประมาณ 76,000 ล้านบาท รวมทั้งถูกรัฐบาลสหราชอาณาจักร อายัดทรัพย์ฐานฟอกเงินอีกกว่า 140,000 ล้านบาท

จากนั้น พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ก็ได้ใช้ชีวิตในต่างแดนมาโดยตลอด พร้อม ๆ กับการโฟนอิน วีดีโอลิงก์ มาให้กำลังใจ ปลุกระดมผู้สนับสนุน และกล่าวโจมตีรัฐบาล รวมทั้งกระบวนการยุติธรรมเป็นระยะ ๆ นอกจากนี้ยังมีข้อกล่าวหาว่า พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร หมิ่นพระบรมราชานุภาพ ด้วยการให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศออกมาด้วยอีกหลายครั้ง

และล่าสุดในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้นัดอ่านคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ 76,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นคดีใหญ่และเป็นที่จับตามองอย่างมากทั้งในและต่างประเทศ เพราะหลายฝ่ายมองว่า นี่อาจเป็นชนวนที่จะทำให้ความสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศ ยังคงดำเนินต่อไปโดยยังหาบทสรุปไม่ได้

ทักษิณ ชินวัตร
ประวัติการทำงาน

พ.ศ. 2548 - 2549 - ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2

พ.ศ. 2544- 2548 - ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก

พ.ศ. 2541 - 2543 - ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยและดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทย

พ.ศ. 2539 - 2540 - ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในสมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ

พ.ศ. 2538 - 2539 - ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบงานด้านจราจร ในสมัยนายบรรหาร ศิลปอาชา

- เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรม

พ.ศ. 2537-2538 - ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในสมัยนายชวน หลีกภัย

พ.ศ. 2530-2537 - ลาออกจากราชการเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัว

- ประธานกรรมการ บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด

พ.ศ. 2516-2530 - รองผู้กำกับการนโยบายและแผนงาน/กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล

บทบาททางสังคม

- รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัย 6 แห่ง

- เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิไทยคม และเป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดที่จะนำดาวเทียมสื่อสาร "ไทยคม" มาใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษา

- ผ่านดาวเทียมเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กชนบท ผู้ยากไร้ที่ไม่สามารถเรียนต่อได้มีโอกาสเรียนต่อในท้องถิ่นของตนเอง ทั้งนี้โดยได้รับความร่วมมือจากกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการเป็นกรรมการอำนวยการ สถาบันเอเชียการศึกษา ปี 2538

- เป็นกรรมการที่ปรึกษา BANGKOK CLUB

- เป็นกรรมการอำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ทักษิณ ชินวัตร



รางวัลเกียรติคุณ

ปี พ.ศ. 2539

- ได้รับรางวัล "Outstanding Criminal Justice Alumnus Awards จาก Criminal Justice Center,Sam Houston State University และได้รับรางวัล "Distinguished Alumni Award จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2539

ปี พ.ศ. 2538

- ได้รับคัดเลือกไปเป็น 1 ใน 3 คนไทยดีเด่นซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทย และฟิลิปปินส์ เข้ารับรางวัลจากสถานทูตฟิลิปปินส์ 2537

ปี พ.ศ. 2537

- ได้รับรางวัล "บุคคลดีเด่นผู้พัฒนาโทรคมนาคมเพื่อ สังคมของประเทศไทย ประจำปี 2536" จากสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย

- ได้รับยกย่องจากหนังสือพิมพ์ Singapore Business Times ให้ เป็น 1 ใน 12 นักธุรกิจผู้นำของเอเชีย

- ได้รับคัดเลือกจากนิตยสาร Financial World ที่มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาให้เป็นหนึ่งใน Asian CEO of the Year

- ได้รับพระราชทานปริญญาวารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- ได้รับคัดเลือกให้เป็นคนไทยคนแรกและเป็นบุคคลที่ 3 ที่ได้รับทุน " Lee Kuan Yew Exchange Fellowship" จากประเทศสิงคโปร์

ปี พ.ศ. 2535

- ได้รับรางวัล "1992 Asean Business Man of the Year"จาก Asean Institute ประเทศอินโดนีเซีย

- ได้รับรางวัล "เกียรติยศจักรดาว" ด้านพัฒนาเศรษฐกิจจากคณะกรรมการมูลนิธิโรงเรียนเตรียมทหาร


เครื่องราชอิสริยาภรณ์

- พ.ศ.2517 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)

- พ.ศ.2519 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)

- พ.ศ.2523 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)

- พ.ศ.2528 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)

- พ.ศ.2537 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)

- พ.ศ.2538 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

- พ.ศ.2539 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

- พ.ศ.2544 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)

- พ.ศ.2545 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)

รัฐกำหนด 6 มาตรการ เอาชนะการทุจริตคอร์รัปชั่น

รัฐกำหนด 6 มาตรการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เอาชนะการทุจริตคอร์รัปชั่น (สำนักข่าวไทย)

คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติฯ กำหนด 6 มาตรการขับเคลื่อนเพื่อเอาชนะการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐ เผยผลสำรวจสถานการณ์การทุจริตในภาครัฐอยู่ในภาวะอันตราย และรุนแรงกว่ายาเสพติด 4-5 เท่า และประเทศไทยอยู่ในอันดับ 84 จาก 180 ประเทศทั่วโลกที่มีการทุจริตคอร์รัปชั่น

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ โดยมีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง นายนาม ยิ้มแย้ม อดีตประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ และนายภิญโญ ทองชัย เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เป็นคณะกรรมการ

ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรก มีการเสนอ 6 มาตรการในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเอาชนะการทุจริตคอร์รัปชั่น ประกอบด้วย

1. มาตรการรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้สังคมไทยและร่วมต้านภัยทุจริต

2. มาตรการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังทุกพื้นที่เสี่ยงการทุจริต

3. สร้างกลไกรับเรื่องร้องเรียนตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติต่อข้อเร้องเรียนให้บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้

4. มาตรการจัดลำดับความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ

5. มาตรการยกระดับหน่วยงานรัฐไปสู่องค์กรแห่งความโปร่งใส

6. มาตรการสร้างกลไกคุ้มครองนักลงทุนและผู้ประกอบการต่างชาติ จากการทุจริตคอร์รัปชั่น

ภายหลังการประชุม นายภิญโญ กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นด้วยกับการดำเนินยุทธศาสตร์เพื่อเอาชนะการทุจริตคอร์รัปชั่น แต่ให้มีการปรับปรุงมาตรการต่าง ๆ ให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม สร้างระบบคุ้มครองเครือข่ายที่แจ้งเบาะแสการทุจริตด้วย อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมไม่เห็นด้วยกับการจัดลำดับความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ แต่ให้เปลี่ยนเป็นการศึกษาและหาวิธีป้องกันความเสี่ยงของการทุจริตในด้านต่าง ๆ เช่นการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้ นายพีระพันธุ์ จะแถลงรายละเอียดอีกครั้งในวันพุธที่ 3 มีนาคมนี้

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีนำเสนอแนวโน้มสถานการณ์การทุจริตในภาครัฐ ซึ่งผลสำรวจทัศนคติของประชาชนล่าสุดปี 2552 พบว่าประชาชนยอมรับรัฐบาลที่มีการทุจริตคอร์รัปชั่นได้สูงร้อยละ 77.5 ซึ่งสูงกว่าปี 2551 ถือว่าสถานการณ์การทุจริตในภาครัฐอยู่ในภาวะอันตรายและรุนแรงกว่าสถานการณ์ยาเสพติด 4-5 เท่า และมีการรายงานด้วยว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับ 84 จาก 180 ประเทศทั่วโลกที่มีการทุจริตคอร์รัปชั่น

สมชาย ชี้ สลายม็อบ 7 ต.ค. เป็นหน้าที่ตำรวจ


สมชาย ชี้ สลายม็อบ 7 ต.ค. เป็นหน้าที่ตำรวจ (ไอเอ็นเอ็น)

นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ ตอบข้อซักถามของคณะกรรมการประชุมวุฒิสภา กรณีสั่งสลายการชุมนุม กลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 51 ว่า ตนและที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไม่ได้

สั่งการให้มีการสลายการชุมนุม หรือใช้ความรุนแรง กับกลุ่มผู้ชุมนุมที่ปิดล้อม บริเวณหน้ารัฐสภา เพื่อเปิดทางให้คณะรัฐมนตรี เข้าชี้แจงรายงานต่อสภา แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจที่จะต้องแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า เพื่อปกป้องบุคคลสำคัญและสถานที่ราชการ เนื่องจากผู้ชุมนุมไม่ได้ชุมนุมกันอย่างสงบและมีอาวุธ พร้อมระบุว่า ได้เสนอให้มีการเปลี่ยนสถานที่และเลื่อนเวลาในการชี้แจงแล้ว แต่ประธานสภาไม่อนุญาต จึงต้องดำเนินการต่อ เพราะเป็นอำนาจของสภา

นอกจากนี้ นายสมชาย ยังกล่าวถึง สาเหตุการเสียชีวิตของผู้ชุมนุมว่า ไม่ได้เกิดจากการยิงแก๊สน้ำตาของเจ้าหน้าที่ แต่เกิดจากระเบิดที่ผู้ชุมนุมนำติดตัวมาเอง อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมวุฒิสภาจะทำการพิจารณา เพื่อลงมติถอดถอน หรือไม่ถอดถอน ในวันที่ 9 มี.ค.

อดีตประธานคตส.รับมีมือลึกลับโทรข่มขู่

อดีตประธานคตส.รับมีมือลึกลับโทรข่มขู่ (ไอเอ็นเอ็น)

นายนาม ยิ้มแย้ม อดีตประธานคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส. กล่าวถึงกรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กำลังพิพากษาคดียึดทรัพย์กว่า 7.6 หมื่นล้านบาท ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า คตส.ดำเนินคดีดังกล่าวอย่างเต็มที่แล้ว และไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ก็ไม่มีผลกระทบต่อ คตส.

ขณะที่หลังการตัดสินนั้น มองว่า สถานการณ์จะยังคงไม่สงบ ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ทั้งนี้หากมีการบิดเบือนผลการตัดสินนั้น คตส. ก็ต้องมีการประชุม เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงต่อไป โดยในวันที่ 1 มีนาคมนี้ คณะกรรมการ คตส. ก็จะนัดพบกัน เพื่อหารือถึงคดีที่ยังค้างอยู่ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. พร้อมสอบถามความคืบหน้าจาก นายกล้าณรงค์ จันทิก กรรมการ ป.ป.ช.ในฐานะโฆษกป.ป.ช.

อย่างไรก็ตาม นายนาม ยอมรับว่า เมื่อ 2 - 3 วันที่ผ่านมา มีโทรศัพท์มาขมขู่ตนเองด้วย แต่ตนก็จะไม่ขอเจ้าหน้าที่มารักษาความปลอดภัย เพราะเป็นหน้าที่ของผู้ที่รับผิดชอบจะดำเนินการให้ นอกจากนี้ อดีตประธาน คตส. ยืนยันว่า ไม่มีผู้ใดได้รับรางวัลนำจับจากคดียึดทรัพย์อย่างแน่นอน

ปชป.มั่นใจ รมต.ทุกคนตอบญัตติซักฟอกได้


ปชป.มั่นใจ รมต.ทุกคนตอบญัตติซักฟอกได้ (สำนักข่าวไทย)

โฆษกประชาธิปัตย์ มั่นใจรัฐมนตรีทุกคนตอบซักฟอกได้ ยืนยันพรรคพร้อมให้ความร่วมมือ การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอย่างเต็มที่

นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกส่วนตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นพ.ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ ส.ส.ชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย สนับสนุนให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีแนบท้าย ในญัตติการยื่นเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ว่า เป็นปัญหาภายในของพรรคเพื่อไทยที่ต้องแก้ไขกันเอง และเห็นว่าการตรวจสอบรัฐบาลควรดำเนินการภายในสภาผู้แทนราษฎร ไม่ควรเคลื่อนไหวนอกสภา

ด้าน นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์พร้อมให้ความร่วมมือการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอย่างเต็มที่ เพราะมั่นใจในความบริสุทธิ์ของรัฐมนตรีทุกคน ที่จะสามารถชี้แจงข้อสงสัย และตอบคำถามได้อย่างชัดเจน แต่อยากให้ฝ่ายค้านเตรียมบุคลากรที่สร้างความมั่นใจให้ประชาชนได้ว่า มีความพร้อมที่จะเป็นรัฐบาลด้วย เพราะการปกครองระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองควรมีทางเลือกที่ดีให้กับประชาชน

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สุริยะใส เตือนระวังกองกำลังไม่ทราบฝ่าย


สุริยะใสเตือนระวังกองกำลังไม่ทราบฝ่าย (ไอเอ็นเอ็น)

เลขาธิการ พรรคการเมืองใหม่ เตือนพรุ่งนี้ ระวังกองกำลังไม่ทรายฝ่าย มีอำนาจนอกรัฐ ฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ พร้อมจับตา กลุ่มเครือข่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ที่อาจปฏิบัติการใต้ดิน

นาย สุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ กล่าวถึง กรณีที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะตัดสินคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาท ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในวันพรุ่งนี้ ว่าไม่มีความเป็นห่วง เพราะคงไม่มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น แต่อาจจะมีการชุมนุมประปราย หรือก็จะกระจายตามจุดต่างๆ เท่านั้น

ขณะที่เจ้าหน้าที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ กับกองกำลังไม่ทราบฝ่าย ที่มีอำนาจนอกรัฐ อีกทั้งเป็นมืออาชีพที่ หากค่าจ้างถึงก็ต้องดำเนินการ ก่อเหตุจะฉวยโอกาสสร้างสถานการณ์ ทั้งนี้กลุ่มดังกล่าว มีบุคคลที่มีอำนาจในรัฐพอสมควรให้การสนับสนุน ขณะเดียวกันก็ต้องจับตากลุ่มเครือข่ายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่อาจจะปฏิบัติการใต้ดิน โดยหากมีโอกาส ทั้ง 2 กลุ่ม ก็จะสร้างความรุนแรง ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า จะมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง และจะมีเป้าหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง โดยการล้มรัฐบาลชุดนี้ให้ได้

ร.ต.อ.เฉลิม ขอโทษ เสื้อแดง ยันไม่ได้ปรามาส


“ร.ต.อ.เฉลิม” ขอโทษเสื้อแดงยันไม่ได้ปรามาส (สำนักข่าวไทย)

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน และประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ในฐานะแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดง ออกมาต่อว่า ร.ต.อ.เฉลิม หลังกล่าวปรามาสเรื่องจำนวนผู้ชุมนุมเสื้อแดงว่า ต้องกราบขอโทษนายจตุพรและคนเสื้อแดง เพราะไม่มีเจตนาวิพากษ์วิจารณ์ ดูหมิ่นดูแคลน หรือขัดขวาง

"ด้วยหัวใจบริสุทธิ์ คนเสื้อแดงจะกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง ก็ขอให้สำเร็จ ขออย่าเข้าใจผมผิด ต้องขอโทษจริงๆ ถ้านายจตุพรแปลความว่าผมกบฏ ไปทำให้ไม่สบายใจ ขอให้นายจตุพรสบายใจว่า ผมพูดไม่มีนัยอย่างอื่นแอบแฝงทั้งสิ้น ขอสื่อไปบอกนายจตุพรว่าอย่าโกรธผมเลย" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว

เจอสกัดดาวรุ่ง TOT ระทึก วิเชียร โดนเชือด

เจอสกัดดาวรุ่ง TOT ระทึก วิเชียร โดนเชือด (ไทยรัฐ)

ทีโอที เตรียมแผนทบทวนธุรกิจ3จี เข้าบอร์ด 26 ก.พ. ก่อนส่งรมว.ไอซีที เร่งงบ 1 พันล้าน ขยายพื้นที่กทม.ปริมณฑลที่ยังว่าง และหัวเมืองใหญ่ คาดเสร็จ เม.ย.ขณะที่ล่าสุด ป.ป.ช. ฟัน วิเชียร นาคสีนวล ผิดวินัยร้ายแรง...

นายวิเชียร นาคสีนวล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ในวันนี้ (26 ก.พ. 2553) เตรียมนำแผนธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3จี ให้บอร์ดชุดที่มีนายธีรวุฒิ บุณยโสภณ เป็นประธานพิจารณาอีกครั้ง หลังจากได้นำแผนดังกล่าวไปปรับแก้ไขในส่วนของมูลค่าโครงการ 3 จี ทั่วประเทศให้เหลือไม่เกิน 2 หมื่นล้านบาท จากที่ผ่านมาได้นำมูลค่าโครงการและค่าซ่อมบำรุงอุปกรณ์มารวมกันทำให้มีวง เงินอยู่ที่ 2.4 หมื่นล้านบาท โดยคาดการณ์ว่าประมาณกลางสัปดาห์หน้าจะเสนอให้ ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เพื่อพิจารณาและยื่นเสนอให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.)ต่อไป

รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทีโอที กล่าวต่อว่า บริษัทยังได้เตรียมงบประมาณ 1,000 ล้านบาท เพื่อขยาย และติดตั้ง 3 จี เพิ่มเติมในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่สัญญาณยังไม่ครอบคลุม รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยว และแหล่งอุตสาหกรรม อาทิ พัทยา เชียงใหม่ ที่มีความต้องการใช้งานด้านดาต้าสูง โดยคาดว่าจะสามารถให้บริการได้ในเดือนเม.ย. 2553

นายวิเชียร กล่าวอีกว่า เป้าหมายผู้ใช้บริการ 3 จี ทีโอที จะไปถึง 5 แสนเลขหมายภายในครึ่งปีนี้ จากปัจจุบันบริษัทสามารถจำหน่ายเลขหมายได้แล้วประมาณ 2-3 แสนเลขหมาย โดยถ้า ครม.อนุมัติแผนธุรกิจก็ได้เตรียมยื่นขอเลขหมายจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ หรือ กทช. เพิ่มอีก 1 ล้านเลขหมายเพื่อรองรับการใช้งาน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า ได้มอบนโยบายให้ทีโอที ไปเร่งดำเนินการติดตั้ง 3 จี ในพื้นที่ที่ยังไม่มีสัญญาณ อาทิ อาคารสูง และพื้นที่หน่วยงานราชการ เป็นต้น รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งอุตสาหกรรม และขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อเตรียมให้บริการ

แหล่งข่าวจาก ทีโอที เปิดเผยว่า นายระเฑียร ศรีมงคล โฆษกบอร์ด ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งโดยให้เหตุผลว่ามีภารกิจมาก ซึ่งขณะนี้บอร์ดได้เซ็นอนุมัติให้ตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา และยังอยู่ระหว่างการทาบทาม นางธนนุช ตรีทิพยบุตร อดีตรองปลัดกระทรวงไอซีที ให้เข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าว

รายงานข่าวแจ้ง ด้วยว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้เผยแพร่เอกสารข่าวเมื่อวันที่ 25 ก.พ. 2553 ว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่า นายวิทู รักษ์วนิชพงศ์ อดีตรองผู้อำนวยการองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยหรือ ทศท.(ปัจจุบันคือ ทีโอที จำกัด (มหาชน) นายวิเชียร นาคสีนวล ขณะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายบริหารผลประโยชน์ (ปัจจุบันเป็นรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีโอที) มีมูลเป็นความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง และมีมูลเป็นความผิดทางอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา 157 กรณีทุจริตในการจัดพิมพ์สมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ เป็นเหตุให้บริษัท ชินวัตร ไดเร็คทอรี่ส์ จำกัด ในฐานะผู้รับจ้างได้รับผลประโยชน์

ย้อนรอยคดียึดทรัพย์ นักการเมือง ร่ำรวยผิดปกติ


พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ

ย้อนรอยคดียึดทรัพย์ นักการเมือง ร่ำรวยผิดปกติ (คมชัดลึก)

1. ยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

การยึดทรัพย์ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกฯ อาศัยมาตรา 17ของรัฐธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร พ.ศ 2507 โดยนายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร ในขณะนั้น มีคำสั่งให้ทรัพย์สินกองมรดกของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และทรัพย์สินในกองมรดกของท่านผู้หญิงวิจิตรา ธนะรัชต์ ให้ตกเป็นของรัฐ

โดยอ้างเหตุผลในการยึดทรัพย์ว่า โดยปรากฏชัดเจนปราศจากข้อสงสัยว่า จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขณะยังมีชีวิตอยู่ได้ใช้อำนาจหน้าที่ในทางราชการโดยมิชอบกระทำการเบียดบังและยักยอกทรัพย์ของรัฐไปหลายครั้งมีจำนวนมากถึง 604,551,276.62 บาท การกระทำดังกล่าวนี้มีผลเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร

2. ยึดทรัพย์จอมพลถนอม กิตติขจร กับพวก

การยึดทรัพย์จอมพลถนอมกับพวกคือ จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร เกิดขึ้นหลังจากถูกนักศึกษาประชาชนขับไล่ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งแรงกดดันของสังคมในตอนนั้นทำให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรี ใช้มาตรา 17 ยึดทรัพย์สินของจอมพลถนอมและพวก รวมมูลค่า 400 กว่าล้านบาท ในปี 2517 แม้ว่าฝ่ายจอมพลถนอม จะต่อสู้เพื่อขอทรัพย์สินคืนโดยการฟ้องศาลแต่ก็ไม่สำเร็จ
3. ยึดทรัพย์พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ กับพวก

ที่เป็นรัฐมนตรีรวม 10 คน หลังถูกยึดอำนาจเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 คณะผู้รักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช. ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินเพื่อทำการอายัดทรัพย์และตรวจสอบทรัพย์สินของนักการเมืองที่เข้าข่ายร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งในที่สุดมีคำสั่งยึดทรัพย์รวมมูลค่ากว่า 1,600 ล้านบาท โดยทั้ง 10 คน ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาล และศาลฎีกาตัดสินว่า คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินไม่มีอำนาจยึดทรัพย์ จึงได้ทรัพย์สินคืนไป ไม่โดนยึด

4. คดีพลเอกชำนาญ นิลวิเศษ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม

ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในวงราชการ (ป.ป.ป.) ตรวจพบว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ 6,624,425.22 บาท ภรรยา 54,469,575.01 บาท และบุตรชาย 10 ล้านบาท

นอกจากนั้นยังปรากฏหลักฐานว่ามีทรัพย์สินของบุตรสาว เครือญาติและผู้ใต้บังคับบัญชาอีกประมาณ 143 ล้านบาท ศาลฎีกาตัดสินเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2539 ยึดทรัพย์ 69.1 ล้านบาท

5. คดีนายเมธี บริสุทธิ์ อดีตรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

ถูกร้องเรียนว่า ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์จากการจัดซื้อแท่นพิมพ์ ทุจริตในการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ป.ป.วินิจฉัยว่าทรัพย์สินร่ำรวยผิดปกติ 16,826,077 บาท ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยึดทรัพย์ 12 ล้านบาท ต่อมาวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์

6. คดีนายสมภพ อุณหวัฒน์ นายช่างโยธาระดับ 9 กรมโยธาธิการ กระทรวงมหาดไทย ร่ำรวยผิดปกติ 80 ล้านบาท

ป.ป.ป.ชี้มูลว่าร่ำรวยผิดปกติ ประกอบด้วยที่ดิน รถยนต์ฮอนด้า รถยนต์โตโยต้า โคโรน่า หุ้น และเงินฝากธนาคาร วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547 ศาลแพ่งพิพากษาให้นายสมภพโอนทรัพย์สินจำนวน 73,525,436.09 บาท ให้กระทรวงการคลัง

7. คดีนายธีระชัย ชัยสุนทรโยธิน อดีตเจ้าหน้าที่บริหารงานพัสดุ 6 สำนักงานชลประทานที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช

ป.ป.ป.มีมติยึดทรัพย์ 2,064,000 บาท คดีนี้ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับให้ยึดทรัพย์สินและคดีถึงที่สุด

8. คดีนายสุวิทย์ ลอยใหม่ ข้าราชการซี 3 องค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์

ป.ป.ป.ชี้มูลว่านายสุวิทย์มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ 1.7 ล้านบาท ศาลชั้นต้นพิพากษายึดทรัพย์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2543 คดีสิ้นสุดในชั้นอุทธรณ์

9. คดีนายรักเกียรติ สุขธนะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ป.ป.ช.มีมติยึดทรัพย์ 233.8 ล้านบาท ต่อมาวันที่ 30 กันยายน 2546 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษายึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน

น่าสังเกตว่าในยุคหลัง ๆ ที่เจ้าหน้าที่รัฐถูกกล่าวหาว่ามีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ โดยใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 หรือกฎหมาย ป.ป.ช. และข้อมูลการเสียภาษีเงินได้ที่ยื่นต่อกรมสรรพากรเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ "ที่มาที่ไป" ของทรัพย์สิน ซึ่งเมื่อถึงที่สุดแล้ว จะถูกยึดทรัพย์ทุกราย

จะเห็นได้ว่ามูลค่าสินทรัพย์ของนักการเมืองที่ถูกยึดในอดีต เทียบไม่ได้กับทรัพย์สินจำนวนกว่า 7.6 หมื่นล้านบาท ในคดีที่อัยการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ขอให้พิพากษายึดทรัพย์ดังกล่าวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นของแผ่นดิน...ถึงแม้จะปรับค่าให้เป็นมูลค่าในปัจจุบันแล้วก็ตาม

นาทีต่อนาที! เกาะติดยึดทรัพย์ ทักษิณ 7.6 หมื่นล้าน

ทักษิณ ชินวัตร
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร


นาทีต่อนาที! เกาะติดคดียึดทรัพย์ ทักษิณ 7.6 หมื่นล้าน (ไอเอ็นเอ็น)

วันตัดสินคดีประวัติศาสตร์ ยึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร วันนี้ (26 ก.พ.) หลายฝ่ายจับตามองและเกาะติดสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะนี่อาจเป็นวันเปลี่ยนชะตาประเทศไทย . . . สถานการณ์ความเคลื่อนไหวทั้งหมด เรามีรายงานมาให้ทราบกันค่ะ
10.54 น. ส.ส.เพื่อไทย เดินทางเข้าพรรครอลุ้นคำตัดสิน พร้อมเสื้อแดงกว่า 20 คน

10.51 น. พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ ผบช.น.พร้อมด้วย พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น.และ พล.ต.ต.วิมล เปาอินทร์ รองผบช.น. เดินทางมายังศาลฎีกา เพื่อตรวจความเรียบร้อยการรักษาความปลอดภัย

09.07 น. 9 ผู้พิพากษาเข้าประชุม เพื่อแถลงคำวินิจฉัยส่วนตนแล้ว ก่อนจะลงมติ เตรียมอ่านคำพิพากษาบ่าย 2

09.00 น. กลุ่มแดงสยามปักหลักชุมนุมที่สนามหลวง แกนนำระบุให้มารวมตัวช่วงบ่าย เพื่อรอฟังคำตัดสิน

08.16 น. เอเอฟพีรายงาน ศาลฎีกานัดพิพากษาคดียึดทรัพย์ทักษิณ ชินวัตร ถือเป็นวันพิพากษาใหญ่ของไทย

07.54 น. ทหารยังคุมเข้มหน้าบ้านพัก ประธานองคมนตรี คาดไม่น่าจะมีความวุ่นวายเกิดขึ้น

07.53 น. ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ปล่อยชุดเคลื่อนที่เร็ว ปะฉะดะ เตรียมพร้อมจู่โจมหากเกิดเหตุรุนแรง รอบศาลฎีกา

07.52 น. บรรยากาศ พรรคเพื่อไทย ยังปกติ สื่อทุกแขนง เฝ้าเกาะติดสถานการณ์ ด้านแกนนำพรรค เตรียมเดินทางเข้าร่วมฟังคำตัดสินด้วย

07.51 น. จับตาบรรยากาศการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์วันนี้ ในขณะที่บรรยากาศโดยรอบยังเป็นไปตามปกติ เจ้าหน้าที่ สน.ลุมพินี และตำรวจ 191 เฝ้าระวังสถานการณ์

07.46 น. บรรยากาศที่กองบัญชาการกองทัพบก เช้าวันนี้ ยังคงมีการรักษาความปลอดภัยตามปกติ ขณะที่ผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการระดับสูงต่างเดินทางมาปฎิบัติงานตามปกติ

07.45 น. บ้านจันทร์ส่องหล้า ยังเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เจ้าหน้าที่วางกำลังคุมทางเข้าออก เข้มห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง เข้าใกล้

07.43 น. กลุ่มแดงสยามกร่อย เหลือปักหลักชุมนุมที่สนามหลวงบางตา แกนนำระบุให้มารวมตัวช่วงบ่าย รอฟังตัดสินคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ

07.36 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจรัฐสภายังตรวจรถเข้า-ออกอย่างเข้มงวด แต่ขอเพิ่มกำลัง คาดไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น

07.12 น. บรรยากาศโดยรอบบริเวณศาลฎีกา ยังเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เตรียมกำลัง 3 กองร้อยคุมเข้ม ตั้งจุดสกัดทุกประตูเข้าออก ในขณะที่กลุ่มแดงสยามปักหลักชุมนุมที่สนามหลวงแล้ว

07.06 น. องค์คณะผู้พิพากษา คดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้ง 9 เดินทางถึงศาลฎีกานักการเมืองแล้ว โดยรถยนต์กันกระสุน พร้อมการรักษาความปลอดภัย ที่เข้มงวด

06.53 น. บรรยากาศรอบทำเนียบยังเป็นไปตามปกติ เจ้าหน้าที่ตรวจรถเข้าออกทุกประตูอย่างเข้มงวด หลังนำสุนัขทหารพร้อมเครื่องสแกน ตรวจวัตถุต้องสงสัยรอบทำเนียบวานนี้

06.21 น. บรรยากาศหน้าบ้านสี่เสาเทเวศน์ ยังคงมีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ดูแลความปลอดรักษาความปลอดภัยตามปกติ พร้อมมีการนำแผงเหล็กมากั้น

06.06 น. สื่อมวลชนเริ่มทยอย ปักหลัก จับจองพื้นที่การรายงานข่าว การตัดสินคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาท ที่ศาลฎีกา ท่ามกลางการดูแลรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวด

05.40 น. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของศาลฎีกา เริ่มเปิดประตูที่ 4 แล้ว พร้อมนำแผงเหล็ก กั้นถนนปิดถนน หับเผย ขณะที่สื่อมวลชน เริ่มทยอยจับจองพื้นที่ ถ่ายทอดสดแล้ว

05.29 น. ตำรวจ ทหาร ยังคงสนธิกำลังออกตรวจตราโดยรอบบริเวณจุดเสี่ยง 5 จุด ตามที่ ผบช.น. ให้นโยบายไว้ โดยตลอดคืนที่ผ่านมา ยังปกติ ไม่มีความวุ่นวายใด ๆ

00.47 น. การปราศรัยของกลุ่มแดงสยามบริเวณท้องสนามหลวง เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น ขณะที่บรรยากาศหน้าศาลฏีกา เจ้าหน้าที่ตำรวจตรึงกำลังรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด

00.33 น. ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 ลงพื้นที่รอบศาลฏีกา ตรวจเข้มการรักษาความปลอดภัย พร้อมส่งชุดสืบสวนสอบสวนกระจายกำลังโดยรอบเพิ่มกว่า 80 นาย ป้องกันเหตุความไม่สงบ ก่อนอ่านพิพากษาตัดสินคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้าน พ.ต.ท.ทักษิณ

กษิตชี้แดงล้มรัฐบาลภายใน 7 วันไม่ได้


กษิตชี้แดงล้มรัฐบาลภายใน 7 วันไม่ได้ (ไอเอ็นเอ็น)

รมว.ต่างประเทศ ลั่น เสื้อแดงล้มรัฐบาลภายใน 7 วัน ตามที่ประกาศไม่ได้ พร้อมสั่งกรมสารนิเทศ แจงสถานการณ์ต่อนานาชาติ

นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่กลุ่มคนเสื้อแดงนัดชุมนุมใน วันที่ 12-14 มีนาคม พร้อมทั้งประกาศจะขับไล่รัฐบาลให้ได้ภายใน 7 วัน ว่าคงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ และทุกอย่างต้องดำเนินการ ตามกรอบของกฎหมายของบ้านเมือง สิ่งใดที่กระทำนอกเหนือกรอบของกฎหมาย ก็ถือว่าผิดกฎหมาย ซึ่งการที่กลุ่มคนเสื้อแดง จะกระทำการสิ่งใด เพียงเพื่อคน ๆ เดียว เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นเราทุกคนจะต้องช่วยกันสร้างชาติ

อย่างไรก็ตาม นายกษิต กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาได้มีการตั้งศูนย์ประสานงานในการให้ข้อมูลข่าวสาร กับองค์กรระหว่างประเทศ ถึงสถานการณ์ภายในของประเทศ รวมถึงได้ให้กลุ่มสารนิเทศของกระทรวง จัดข้อมูลไปยังสถานทูตไทยในทุก ๆ ประเทศ เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับสถานการณ์ต่าง ๆ อีกทั้งกระทรวงยังได้มีการติดต่อประสานงานทางด้านข้อมูลกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง และนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อยู่โดยตลอด

เชื่อหลังตัดสินยึดทรัพย์ ทักษิณ บ้านเมืองวุ่น

น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ

เชื่อหลังตัดสินยึดทรัพย์ ทักษิณ บ้านเมืองวุ่น (ไอเอ็นเอ็น)

กรรมการสิทธิ์ เชื่อหลังตัดสินคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ มีแนวโน้มบ้านเมืองจะเกิดความวุ่นวาย หวั่นมีคนฉวยโอกาส ใช้ทหารเป็นเครื่องมือ

น.พ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวระหว่างการเสวนา เรื่องการเมืองไทย ในภาวะวิกฤติว่า หลังการพิพากษาคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาท ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 26 ก.พ. นี้ มีความเป็นไปได้ที่สถานการณ์บ้านเมือง จะเกิดวิกฤติจลาจลก่อการร้าย ภายใต้แรงกระตุ้น 3 อย่าง ได้แก่ การจัดตั้งมวลชนของกลุ่มคนเสื้อแดง ในส่วนกลางและภูมิภาค ที่มีมากกว่าทุกครั้งในประวัติศาสตร์ การใช้สื่อโดยเฉพาะวิทยุชุมชนรู้ข้อมูลบ้าง เพื่อจุดกระแสกระตุ้นให้มวลชนใช้ความรุนแรง และการใช้ความรุนแรงของกองกำลังติดอาวุธ ซึ่งจะประมาทไม่ได้ ดังนั้นประชาชนต้องไม่ตกเป็นเหยื่อของการแย่งชิงอำนาจ

อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่า ทหารไม่ต้องการปฏิวัติ แต่ก็ไม่ทราบว่า มีอะไรกดดันอยู่เบื้องหลังหรือไม่ ด้าน พ.อ.ธีรนันท์ นันทขว้าง รองผู้อำนวยการศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ระบุว่า ทหารคงไม่กล้าปฏิวัติ แต่สถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนขั้วกดดันให้รัฐบาลยุบสภา โดยโมเดลเรื่องการสังเกตผู้นำจะเป็นเงื่อนไขของการเจรจา ขณะเดียวกัน ขณะนี้กองทัพไม่มีความเป็นเอกภาพ จึงอาจมีคนบางกลุ่มใช้กองทัพเป็นเครื่องมือ

นายกฯ ตอบกระทู้สั่งสอบฆ่าตัดตอน สมัยทักษิณ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
นายกฯตอบกระทู้สั่งสอบฆ่าตัดตอนสมัยทักษิณ (ไอเอ็นเอ็น)

นายกฯ ตอบกระทู้ ร.ต.อ.เฉลิม โดยระบุว่า รัฐบาลให้กระทรวงยุติธรรม ตรวจสอบเหตุฆ่าตัดตอน ในสงครามยาเสพติดอยู่ ขณะพร้อมจะตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพิ่ม เพื่อพิสูจน์ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เกี่ยวข้องด้วยหรือไม่

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานส.ส. พรรคเพื่อไทย ได้ตั้งกระทู้ถามสด นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ถึงกรณีที่กล่าวหา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ประกาศนโยบายทำสงครามกับยาเสพติด จนมีการฆ่าตัดตอนประชาชน 2,500 ศพ ว่า ในช่วง 1 ปี ของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์มีอำนาจ ได้มีการตรวจสอบและดำเนินการในเรื่องนี้ ให้มีความชัดเจนอย่างไรบ้าง

ซึ่งนายกรัฐมนตรีชี้แจงว่า เรื่องของการดำเนินนโยบายปราบปรามยาเสพติด เป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญ และดำเนินการอย่างเด็ดขาด ทั้งการจับกุมดำเนินคดีการทำลายล้าง โดยอยู่บนพื้นฐานการเคารพสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งในปี 2552 การปราบปรามมีความก้าวหน้าที่สุด ยืนยันว่า ไม่มีการละเมิดสิทธิ์ และการฆ่าตัดตอนเกิดขึ้น ส่วนการตรวจสอบเรื่องการฆ่าตัดตอน 2,500 ศพ ในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณนั้น เป็นเรื่องที่ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กำลังดำเนินการติดตามตลอด

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรี ระบุว่า หลังจากนี้ ตนจะตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่ง ออกมาตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว ต่อจากคณะกรรมการอิสระตรวจสอบศึกษา และวิเคราะห์นโยบายปราบปรามยาเสพติด และการนำนโยบายไปปฏิบัติ จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน หรือ คตน. เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ให้ชัดเจนว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว จริงหรือไม่

นอกจากนี้ ร.ต.อ.เฉลิม ยังกระทู้ถามถึงกรณีที่ รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาระบุเรื่องเงินท่อน้ำเลี้ยงที่โอนมาจากต่างประเทศ รวมถึง การฝึกกองกำลังติดอาวุธ ว่า เป็นการออกมากุข่าวโดยไม่มีข้อเท็จจริง ซึ่ง นายกฯ ได้ชี้แจงยืนยันว่า สิ่งที่ รศ.ดร.ปณิธาน ออกมาระบุเป็นการพูดบนพื้นฐานความจริง ไม่เคยกุข่าวให้ร้าย ขณะที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯด้านความมั่นคง ก็ชี้แจงว่า ผู้ที่ออกมาพูดเรื่องกองกำลังติดอาวุธ คือ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ซึ่งหากมีการจัดตั้งจริง ก็จะมีการจับกุมในข้อหากบฏ ส่วนเรื่อง ท่อน้ำเลี้ยงนั้นได้รับข้อมูลมา แต่ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ เพราะเกี่ยวข้องกับความมั่นคงและกำลังดำเนินการตรวจสอบ

อย่างไรก็ตาม ได้เกิดการประท้วงกันขึ้นในที่ประชุม เมื่อ ร.ต.อ.เฉลิม ต้องการใช้สิทธิ์พูดต่อและเสนอให้เพิ่มเวลา แต่ประธานสภาฯไม่อนุญาต จึงทำให้ นายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ลุกขึ้นประท้วงว่า การที่ไม่ยอมให้ถามต่อถือเป็นการปิดบังความจริงที่จะเสนอต่อประชาชน

ผบช.ภ.2 ฟ้อง ปทีป ฐานสั่งย้ายมิชอบ


ผบช.ภ.2 ฟ้อง ปทีป ฐานสั่งย้ายมิชอบ (ไอเอ็นเอ็น)

ผบช.ภ.2 ฟ้อง รรท.ผบ.ตร. ต่อศาลแล้ว กรณีออกคำสั่งกล่าวหามีการซื้อขายตำแหน่ง บช.ภ.2 โดยไม่เปิดโอกาสให้ชี้แจง สร้างความเสียหายต่อราชการ ศาลรับคำฟ้องพร้อมนัดไกล่เกลี่ย 23 เม.ย. และนัดไต่สวนโจทก์ 26 เม.ย.นี้

พล.ต.ท.เกรียงศักดิ์ สุริโย ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ช่วยรักษาราชการสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มอบอำนาจให้ทนายเดินทางไปยังศาลอาญากรุงเทพใต้ เพื่อยื่นฟ้อง พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

จากกรณีที่ออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง กล่าวหามีการซื้อขายตำแหน่งในกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 โดยได้เรียก พล.ต.ท.เกรียงศักดิ์ เข้าให้การต่อคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการร้องเรียนด้วยการซื้อขายตำแหน่ง ในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ในสังกัดกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 โดยไม่ได้ซักถาม หรือเปิดโอกาสให้ชี้แจงแสดงพยานหลักฐานอันเป็นคุณ แต่กลับมีคำสั่งด่วนให้ไปช่วยราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำให้ไม่อาจปฏิบัติราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 ได้อีกต่อไป ซึ่งเป็นผลเสียหายต่องานราชการ

ทั้งนี้ ศาลได้รับคำฟ้องไว้พิจารณา พร้อมนัดคู่ความเพื่อไกล่เกลี่ยใน วันที่ 23 เม.ย. นี้เวลา 09.00 น. และนัดไต่สวนมูลฟ้องโจทก์ในวันที่ 26 เม.ย. เวลา 09.00 น.

ทักษิณ ยันไม่คืนดี เนวิน ฉะ ชัย พูดต่อรอง ปชป.


ทักษิณ ยันไม่คืนดี เนวิน ฉะ ชัย พูดต่อรอง ปชป. (ไอเอ็นเอ็น)

ทักษิณ ยืนยันไม่มีทางคืนดีกับนายเนวิน แน่นอน ระบุคำพูดนายชัย เป็นไปเพื่อการต่อรองประโยชน์ ให้บุตรชายเท่านั้น

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านหน้าเว็บไซต์ทวิตเตอร์ โดยระบุ ถึงการออกมาให้สัมภาษณ์ของนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ออกมาระบุว่า นายเนวิน ชิดชอบ อาจหวนไปคืนดี กอดคอกับตนเองอีกครั้ง โดย พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า อย่าเชื่อคำพูดของนายชัย เนื่องจากเชื่อว่า เป็นการออกมาพูด เพื่อต่อรองบางอย่างให้กับบุตรชาย คือนายเนวิน ซึ่งทั้งหมด เป็นความผิดของตนเอง ที่หลงเชื่อคำพูดของนายเนวิน มาตลอด

นอกจากนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ยังระบุอีกด้วยว่า ในตนเองต้องเดินทางไปเมืองอาบู ดาบี ABU DHABI เพื่อเคารพพระศพ "เจ้า" ของที่นี่ ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระราชบิดาของเชค เป็นสปอนเซอร์วีซ่า กับ UAE ให้ตนเองด้วย

ศาลยกฟ้อง คดีหวยออนไลน์ รัฐไม่ต้องชดใช้


หวยออนไลน์

ศาลยกฟ้อง คดีหวยออนไลน์ รัฐไม่ต้องชดใช้ (ไอเอ็นเอ็น)

ศาลฎีกาสนามหลวงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ กับ บริษัท จาโก จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัทล็อกซเล่ย์ ในการทำสัญญาแต่งตั้งผู้จำหน่ายสลาก

การกุศล หรือ สลากอัตโนมัติ หรือ หวยออนไลน์ เนื่องจากการวิเคราะห์พยานหลักฐานและเห็นว่า สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีงบการลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จึงกระทำตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วม หรือดำเนินงานในกิจการของรัฐ ซึ่งต้องมีการนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เมื่อสัญญาไม่ผ่านมติของคณะรัฐมนตรี จึงถือเป็นสัญญาที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินงานในกิจการ ของรัฐ ทำให้สัญญาระงับของพิพาท

โดยใช้กระบวนชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่มีผลบังคับใช้ ดังนั้นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน การที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ จึงเป็นคำพิพากษาที่ฝ่าฝืนบัญญัติ ของพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ จึงพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ชดใช้ค่าเสียหายแก่ บริษัทจาโก เป็นเงินถึง 4,000 ล้านบาท

สุเทพ วอนเคารพศาล ไม่ออกกฎหมายพิเศษคุมแดง


สุเทพ วอนเคารพศาล ไม่ออกกฎหมายพิเศษคุมแดง (ไอเอ็นเอ็น)

รองนายกฯ สุเทพ เรียกร้องทุกฝ่าย ยอมรับคำตัดสินของศาล ยัน ไม่ประกาศ กม.ความมั่นคง ควบคุมการชุมนุมเสื้อแดง 14 มี.ค. พร้อมสั่งดูแล องค์คณะศาลตุลาการ อย่างเต็มที่

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง เรียกร้องให้ประชาชนยอมรับคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กว่า 76,000 ล้านบาท ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ นี้ ส่วนการชุมนุมของคนเสื้อแดง วันที่ 12-14 มีนาคม นี้นั้น ยืนยันว่า จะไม่มีการประกาศกฎหมายความมั่นคง เพื่อควบคุมการชุมนุม และตนก็ไม่ขอวิจารณ์ถึงกระแสกลุ่มคนเสื้อแดงกำลังตกในขณะนี้ ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ระบุว่า จะสู้จนดินกลบหน้านั้น มองว่า ประชาชนคงจะรู้ว่า สู้เพื่อตัวเองและครอบครัว ขณะเดียวกัน ตนก็ไม่มีสิ่งใดกังวล ที่องค์คณะตุลาการศาลฎีกาขอพักเซฟเฮาส์ในขณะนี้ ซึ่งตนสั่งการให้ดูแลอย่างเต็มที่แล้ว พร้อมกับจับตากระแสข่าวว่า จะมีการนำรถแท็กซี่ไปล้อมศาลฎีกาด้วย

นอกจากนี้ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง เรียกร้องกลุ่มชาวนา ที่ไม่พอใจนโยบายการประกันราคาข้าวของรัฐบาลว่า อย่ามาชุมนุมในช่วงนี้ เพราะเกรงอาจจะถูกมองได้ว่าเป็นการผสมโรงกับกลุ่มคนเสื้อแดง